สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษและอีกหลายสำนักข่าวทั่วโลกต่างเสนอข้อมูลอันน่าตกตะลึงที่นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์กออกมาเปิดเผยว่าน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ละลายลงไปเกือบหมดทั้งเกาะ ในเวลาเพียง 4 วัน
นักวิทยาศาสตร์ต่างพากันพยายามทำความเข้าใจเหตุผิดปกติที่ไม่เคยพบเห็นเช่นนี้มาก่อนนี้แม้จะมีความเห็นจากการประชุมหารือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ว่าการละลายที่ผิดปกตินี้น่าจะเป็นผลพวงมาจากการที่อุณหภูมิเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อในช่วงเดือนกรกฎาคมทำให้เกิดการละลายที่รวดเร็วขึ้นแต่หลายฝ่ายพากันวิตกกับผลที่เกิดขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ไม่ควรละลายด้วยอัตราเร็วเท่านี้ โดยที่ผ่านมาในอดีตเคยเกิดการละลายมาแล้ว 2ช่วง คือ ระหว่างปี 2528-2536 และ 2548-2553 แต่ครั้งนี้การละลายเมื่อเทียบจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2555 และอีก 4 วันให้หลัง พบว่าพื้นผิวน้ำแข็งบนเกาะหายไปถึง 97 % ซึ่งนับว่ามากที่สุดในรอบ 30 ปีที่มีการติดตามด้วยภาพถ่ายดาวเทียมอย่างไรก็ตามเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังกำลังศึกษาทำความเข้าใจและยังไม่ตัอสินว่าการละลายขนาดนี้จะส่งผลต่อปริมาณการเพิ่มขึ้นของระดับนน้ำทะเลหรือไม่
แม้เราจะไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้เพราะเมื่อพิจารณาข้อมูลอย่างแท้จริงแล้ว การละลายของน้ำแข็งที่มีการตีตัวเลข 97% นั้น เป็นการเสนอว่าพื้นน้ำแข็งบนเกาะ 97% ของพื้นที่น้ำแข็งทั้งหมดเกิดการละลาย มิใช่น้ำแข็งปริมาณ 97% ของปริมาณน้ำแข็งทั้งหมดบนเกาะเกิดการละลายหมด แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรมองข้ามไปองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ(นาซ่า) ได้ออกมาเปิดเผยว่า น้ำแข็งเกือบทั้งหมดที่ปกคลุมเกาะกรีนแลนด์อยู่นั้นได้เกิดการละลายที่ชั้นผิวอย่างรวดเร็วและกำลังพยายามศึกษาหาสาเหตุและผลกระทบที่แน่ชัด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือเป็นวงจรตามธรรมชาติ หรือเกิดจากภวะโลกร้อนอันมีสาเหตุมาจากน้ำมือมนุษย์ หรือแม้แต่การไหลของแม็กม่าใต้ผิวโลก และความผิดปกติของทิศทางการไหลของกระแสน้ำอุ่นในบริเวณดังกล่าว
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช. รายงาน
|